สถาปนิกด้านการออกแบบ
แรงบันดาลใจที่ทำให้ดิฉั
picture from
ผู้ปฏิบัติงานสถาปนิก-Architect-Buildingทำหน้าที่ออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง และควบคุมการก่อสร้างร่วมกับวิศวกร คำนวณวัสดุ เวลา และราคาของค่าแบบก่อสร้างและการก่อสร้างที่เหมาะสมให้คำแนะนำในเรื่องวัสดุก่อสร้างที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้างและเป็นไปตามกฎข้อบังคับของท้องถิ่น และแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรม
รางวัลพลิตซ์เกอร์
รูปภาพจาก google.com
สถาปก เป็นที่มาของคำว่าสถาปนิก ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง
รางวัลพลิตซ์เกอร์ คือ รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคาร ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"
ขอบเขตงานของสถาปนิก
สถาปนิกในปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตการประกอบวิชาชีพไปในหลายๆ ด้านที่เป็นแนวทางเฉพาะ เช่น
1. งานด้านออกแบบ (Design)
2. งานด้านการบริหารโครงการ (Construction Management)
3. งานด้านการบริหารการใช้พลังงานในอาคาร (Building Energy Management)
4. งานด้านการออกแบบการให้แสง (Lighting Design)
5. งานด้านบริหารจัดการอาคาร (Facility Management)
6. งานด้านอนุรักษ์ (Preservation)
7. งานตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของอาคาร (Building Inspection)
ขั้นตอนการให้บริการของวิชาชีพสถาปนิก
1. ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)
2. ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)
3. ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)
4. การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)
5. บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration)
ในบางโครงการ อาจจะมีการเข้าไปรับงานเป็นทีม โดยเจ้าของทำสัญญากับทีมก่อสร้างเพียงสัญญาเดียว ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้รับเหมาก่อสร้าง สถาปนิก และ ที่ปรึกษาอื่นๆ รวมตัวกันเป็นหนึ่ง โดยการทำสัญญาโดยตรงนี้ จะเรียกว่า เป็นการบริการแบบ ดีไซน์บิลด์ (Design Build)

photo from LiveBinder

photo from Huffington Post
คุณสมบัติของคนที่จะประกอบอาชี1. มีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นคนมีความละเอียดรอบคอบ และถี่ถ้วน
3. มีความสามารถในการรู้จักประยุกต์ใช้วัสดุ เพื่อประโยชน์ใช้สอยสูงสุด
4. มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมในการช่วยวาดรูปหรือออกแบบ
5. มีระเบียบวินัย เข้าใจถึงการบริหารธุรกิจ
6. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ให้ความร่วมมือกับ ทีมงานดี
7. มีวิสัยทัศน์ที่ดี และปรับปรุงความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา
8. มีความสามารถเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
9. มีสุขภาพแข็งแรง สามารถไปทำงานต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้
10. มีความซื่อสัตย์
การศึกษา
ต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ต้องสอบคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่จัดสอนคณะหรือภาควิชาสถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตย์-สถาปัตย์เป็นสาขาที่เรียนการออกแบบโครงสร้างอาคาร บ้านเรือนโดยตรง
ดิฉันสนใจสถาปัตยกรรมด้านการออกแบบเป็นอย่างมากและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้
by: sundaepyn